วิธีการใช้ตัวคูณ ของ ตัวคูณตัวเลข IUPAC

ปกติแล้ว ตัวคูณที่ให้ไว้นี้จะใช้สำหรับเป็นคำอุปสรรค ในการระบุจำนวนอะตอมหรือหมู่ฟังก์ชันในสารเคมีได้เลย แต่ว่าถ้าต้องการตัวเลขที่ไม่มีตัวคูณในตาราง เราต้องประกอบขึ้นเอง โดยการเรียกตัวคูณของหลักหน่วย ต่อด้วยหลักสิบหลักร้อย หลักพัน... ไปเรื่อย ๆ โดยคำนึงถึงค่าของตัวเลขตัวนั้น ๆ ขณะอยู่ประจำหลักของตัวเอง ดังตัวอย่าง

548 → ออกตะ (8) + เตตระคอนตะ (40) + เพนทักตะ (500) อ่านว่า "ออกตะเตตระคอนตะเพนตักทะ"9267 → เฮปตะ(7) + เฮกซะคอนตะ (60) + ดิกตะ (200) + โนนะเลีย (9000) อ่านว่า "เฮปตะเฮกซะคอนตะดิกทะโนนะเลีย"

กรณีที่เลขที่เราต้องการมี 1 หรือ 11 ต่อท้าย เราจะเรียกเลขหนึ่งว่า เฮน- (hen-) และเรียกเลขสิบเอ็ดว่า อุนเดคะ- (undeca-) ดังตัวอย่าง

241 → เฮน (1) + เตตระคอนตะ (40) + ดิกตะ (200) อ่านว่า "เฮนเตตระคอนตะดิกตะ"411 → อุนเดคะ (11) + เททรักตะ (400) อ่านว่า "อุนเดคะเททรักตะ"